สำหรับใครที่ติดตามข่าวสารในแวดวงโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม คงได้ผ่านหูผ่านตากับการประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ Campaign Planner ของ Twitter ไปในช่วงกลางปี 2022 ที่ผ่านมา โดยเครื่องมือ Campaign Planner นี้ถูกทดสอบมานานกว่า 6 เดือน เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถวางกลยุทธ์โฆษณาบนแพลตฟอร์มได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในวันเปิดตัวยังให้บริการเฉพาะพาร์ตเนอร์บางประเทศ เช่น ผู้ใช้งานบางกลุ่มในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นได้ทดลองใช้งานกันก่อนเท่านั้น
แต่จากการประกาศเพิ่มเติมล่าสุด Twitter กำลังขยายเครื่องมือ Campaign Planner ไปยังอีก 15 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้นักการตลาดได้ลองใช้งานกันอย่างจริงจังมากขึ้น สำหรับในบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักเครื่องมือ Campaign Planner กันให้มากขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมก่อนการใช้งานจริงในอนาคต รายละเอียดจะเป็นอย่างไร Relevant Audience ขอพาไปเจาะลึกกันเลย
Campaign Planner ตัวช่วยที่นักการตลาดต้องรู้
Campaign Planner เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยทำนายผลลัพธ์ของแคมเปญก่อนที่จะปล่อยลงสู่แพลตฟอร์ม ผ่านเครื่องมือการประเมินต่างๆ โดยอิงจากตัวชี้วัด ไม่ว่าจะเป็นยอด Reach, Impression, Average Frequency และตาม Objective อื่นๆ ที่เลือก และยังสามารถตั้งค่าในส่วนอื่นๆ ได้เพิ่มเติมให้ตรงกับตามแคมเปญที่ออกแบบเอาไว้ เช่น งบประมาณตามที่ต้องการ กลุ่ม Audience เป็นต้น และเมื่อตั้งค่าทุกอย่างแล้วก็เพียงแค่ให้เครื่องมือช่วยทำนายผลลัพธ์ออกมาว่าจะเป็นอย่างไร โดยข้อมูลที่ได้นี้ไม่ได้หมายความว่าแคมเปญจะเป็นไปตามนั้นแบบ 100% แต่ก็ถือเป็นตัวชี้วัดที่ดีพอในการนำมาประเมินและวางแผนออกแบบแคมเปญโฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก่อนที่จะนำไปรันจริง
วิธีการใช้งาน Campaign Planner
สำหรับใครที่อยากลองใช้งานเครื่องมือ Campaign Planner แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง Relevant Audience จะมาบอกให้รู้กัน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เปิดใช้งาน Campaign Planner ในการเปิดใช้งาน Campaign Planner ในหน้า Twitter Ads ให้ไปที่เมนู Campaign ทางด้านมุมซ้ายบน จากนั้นเลือก “Campaign Planner”
ขั้นตอนที่ 2 เลือก Objective และ Budget ตามที่ต้องการ จากนั้นเมื่อเข้ามาสู่หน้า Campaign Planner เครื่องมือก็จะมีหน้าต่างให้ผู้ใช้งานได้ตั้งค่า Objective ที่ต้องการ เช่น ยอด Reach ยอด View และอื่นๆ จากนั้นทางด้านขวามือในส่วนของ Plan Forecast ให้ใส่งบประมาณตามที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 3 ตั้งวันที่และเวลาเริ่มต้น/สิ้นสุดของแคมเปญ เลือกวันที่และเวลาให้สอดคล้องกับความต้องการในการรันแคมเปญ โดยตัวเครื่องมือ Campaign Planner จะรองรับการทำนายผลลัพธ์ให้กับแคมเปญที่มีระยะเวลาอย่างน้อย 3 วัน (72 ชั่วโมง) ขึ้นไป
ขั้นตอนที่ 4 ตั้งระดับ Frequency Cap ต่อไปคือการตั้งค่า Frequency Cap ที่จะเป็นตัวช่วยในการควบคุมจำนวนครั้งที่มีคนเห็นแคมเปญตลอดระยะเวลาการรันของแคมเปญ โดยสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1 วัน 7 วัน และ 30 วัน
ขั้นตอนที่ 5 เลือก Placement ต่อมาคือการเลือกตำแหน่งในการแสดงผล สามารถเลือกได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นหน้า Home Timeline, หน้า Profiles, หน้า Search Results และหน้า Replies
ขั้นตอนที่ 6 กำหนด Demographics เลือกข้อมูลกลุ่มประชากรที่ต้องการ โดยสามารถเลือกเพศ ช่วงอายุ สถานที่ และภาษา รายละเอียดดังนี้
- เลือก Operating System, Device Model เป็นการกำหนดว่าจะให้แคมเปญเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช้ระบบปฎิบัติการ รุ่นอุปกรณ์ ผู้ให้บริการ แบบเฉพาะเจาะจงหรือไม่
- เลือกกลุ่ม Audience กำหนดกลุ่ม Audience โดยสามารถสร้างขึ้นเองแบบ Custom Audience หรือจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วจาก Website Activity, App Activity หรือ App Activity Audience อื่นๆ
- ปรับ Targeting Feature สามารถใส่รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่ม Target ได้ ไม่ว่าจะเป็น Keywords, Follower Look alikes, Interest, Conversation Topics เป็นต้น
- ทำนายผลใน Plan Forecast ในส่วนของ Plan Forecast จะเป็นหน้าต่างแสดงไทมไลน์การคาดการณ์แคมเปญตามการตั้งค่าของผู้ใช้งาน สามารถเลือกดูรายละเอียดในส่วนต่างๆ ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนงบประมาณที่ใช้ การคาดการณ์ยอด Reach, เปอร์เซนต์ของ Target Audience, CPM, Average Frequency, Impressions เป็นต้น
Campaign Planner เปิดให้บริการเพิ่มเติมในอีก 15 ประเทศ
อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าในตอนเปิดตัว Twitter ได้เปิดให้ใช้งานเฉพาะบางกลุ่มในบางประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เท่านั้น แต่ล่าสุด Twitter ได้ประกาศว่า Campaign Planner พร้อมให้บริการแกนักการตลาดในอีก 15 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน ตุรกี และไทย โดยรวมทั้งหมดในตอนนี้เท่ากับว่ามี 18 ประเทศทั่วโลกที่สามารถใช้งานฟีเจอร์การทำนายแคมเปญโฆษณานี้ได้แล้ว
ทิ้งท้าย
แน่นอนว่าในการประกาศครั้งนี้รวมไปถึงการเปิดให้นักการตลาดในประเทศไทยสามารถใช้งานเครื่องมือ Campaig Planner ได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการรันแคมเปญต่างๆ ได้ไม่มากก็น้อย เชื่อว่าการใช้งานไม่ได้ซับซ้อนมากเกินไปนัก หากอ่านวิธีการใช้งานเบื้องต้นที่เราได้นำมาฝากกันรับรองได้เลยว่าไม่เกิน 5 นาทีก็น่าจะใช้งานเป็นได้ไม่ยาก หากมีข่าวสารอัปเดตดีๆ จาก Twitter มาอีกเตรียมปักหมุดบน Blog ของเราไว้ได้เลย จะนำมาฝากให้รู้กันอีกแน่นอน
Source: Twitter Business
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com