“ลงทุนลงแรงกับเว็บไซต์ไปตั้งนานแต่ทำไมพอลองไปเสิร์ชบนกูเกิล กลับไม่เห็นหน้าเว็บไซต์ขึ้นมากันนะ?” หลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำ SEO คงเคยมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นกันเป็นประจำ ต้องเข้าใจก่อนว่าการที่หน้า SERPs จะไม่แสดงเว็บไซต์นั้นมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป
ใครที่กำลังประสบปัญหาการจัดทำ Indexing บนหน้าเว็บไซต์โดยอัลกอริทึมของกูเกิล ในบทความนี้ได้รวบรวม 8 เหตุผลยอดฮิตมาให้มือใหม่ SEO รู้กันแล้ว รับรองว่าอ่านจบแล้วสามารถนำไปแก้ไขได้ทันที ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย
1.Domain Name มีการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง
เหตุผลแรกๆ ที่หลายคนมักจะเจอกันนั่นคือการที่กูเกิลไม่จัดทำ Indexing หน้าเว็บไซต์ของคุณเนื่องจากหา Domain Name ของเว็บไซต์คุณไม่พบ ไม่ว่าจะด้วยการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องบน WordPress หรือเหตุผลอื่นใดก็ตาม
หากคุณพบว่าเว็บไซต์มีปัญหาเกี่ยวกับ Domain Name คำแนะนำคือให้ไปตรวจสอบการตั้งค่า Redirect ของ Ip Address และแก้ไขปัญหาด้วยการทำ Redirect 301
2.เว็บไซต์ไม่รองรับ Mobile-Friendly
อย่างที่รู้กันดีว่ากูเกิลให้ความสำคัญกับแนวทาง Mobile First Indexing ดังนั้นในตอนนี้เว็บไซต์ที่มีการรองรับการทำงานบนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือถือจึงกลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดทำ Indexing โดยอัลกอริทึมของกูเกิล
พูดง่ายๆ ว่าไม่ว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณจะดีมากแค่ไหน แต่หากโครงสร้างของเว็บไซต์ไม่ถูกออกแบบเพื่อรองรับการทำงานผ่านอุปกรณ์มือถือ ทุกสิ่งที่ลงทุนลงแรงไปอาจไร้ประโยชน์ในทันที
3.มี Coding ที่ซับซ้อนเกินไป
กูเกิลจะไม่จัดทำ Indexing ให้กับเว็บไซต์ใดก็ตามที่มีโครงสร้างโค้ดดิ้งที่ซับซ้อนจนเกินไป โดยไม่สำคัญว่าจะเป็นโค้ดเก่าหรือใหม่แต่หากมีการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องก็จะสร้างปัญหาในการรวบรวมข้อมูลและจัดทำ Indexing โดยอัลกอริทึมของกูเกิล
สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาอาจใช้วิธีพื้นฐานอย่างการตรวจสอบผ่าน Google’s Mobile-Friendly Testing Tool
4.เว็บไซต์โหลดช้าเกินไป
หากเว็บไซต์ของคุณมีปัญหาโหลดช้า อืด หรือหน่วงจนเกินไป นี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กูเกิลไม่จัดทำ Indexing โดยปัญหาที่ทำให้เว็บไซต์โหลดช้ามีด้วยกันหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการให้บริการจากเว็บโฮสติ้ง หรือเนื้อหาต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์มีมากจนเกินไป
สำหรับวิธีแก้ไขเบื้องต้นอาจใช้เครื่องมืออย่าง PageSpeed Insight เพื่อระบุว่าหน้าเว็บไซต์เกิดปัญหาที่ส่วนใด จากนั้นให้รีบทำการปรับปรุงเว็บไซต์ทันที
5.เผลอใช้ปลั๊กอินที่บล็อกการทำงาน Googlebot
หากคุณตรวจสอบหมดทุกอย่างแล้วยังพบว่ากูเกิลยังไม่ยอมจัดทำ Indexing ให้กับหน้าเว็บไซต์ ลองตรวจสอบการใช้งานปลั๊กอินก่อน อย่างการใช้งานปลั๊กอิน robots.txt ที่มีหน้าที่ในการบอกอัลกอริทึมของกูเกิลว่าหน้าไหนไม่ให้เข้าไปเก็บข้อมูล หรือหน้าไหนที่สามารถเก็บข้อมูลได้ เป็นต้น
6.ไม่ได้เพิ่ม Domain Properties ลงใน Google Search Console
หากคุณมีโดเมนมากกว่าหนึ่งรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนจาก https:// เป็น https:// ต้องไม่ลืมที่จะเพิ่มและยืนยันรูปแบบโดเมนทั้งหมดของคุณลงใน Google Search Console รวมทั้งยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ (Verify Site Ownership)
7.เว็บไซต์ไม่มี XML Sitemap
XML Sitemap เปรียบเสมือนกับหน้าสารบัญทั้งหมดของเว็บไซต์ที่จะช่วยให้อัลกอริทึมของกูเกิลเข้าใจว่าเว็บไซต์มีเนื้อหาส่วนใดบ้าง จากนั้นจึงจะสามารถทำการรวบรวมข้อมูลและจัดทำ Indexing ได้
หากเว็บไซต์ไม่มี XML Sitemap จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องสร้างไฟล์ XML Sitemap และส่งเข้าเครื่องมือ Google Search Console เพื่อให้กูเกิลสามารถเก็บข้อมูลหน้าเว็บไซต์ได้
8.ปัญหาการลงโทษโดยกูเกิลที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
หากเว็บไซต์ของคุณเคยโดนกูเกิลลงโทษจากการละเมิดกฎ SEO นั่นถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ร้ายแรงที่สุดที่จะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่กูเกิลจะไม่จัดทำ Indexing ให้กับหน้าเว็บไซต์ของคุณ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการซื้อลิงก์ การสแปมคีย์เวิร์ด หรือเหตุผลอื่นใดก็ตามที่เป็นการละเมิดข้อกำหนดของกูเกิล โปรดรู้ไว้เลยว่าการลบหน้าหรือเนื้อหาเก่าที่เป็นปัญหานั้นออกไปไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
สำหรับวิธีแก้ปัญหาที่ปลอดภัยที่สุดคือการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ พูดง่ายๆ คือ ยกเครื่องเนื้อหาเว็บไซต์ของคุณใหม่ทั้งหมดรวมถึงการเปลี่ยนโดเมนด้วย ฉะนั้นหากไม่อยากยุ่งยากก็อย่าละเมิดข้อกำหนดของกูเกิลเด็ดขาด
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com