Infographic เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับการนำเสนอคอนเทนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้รูปภาพ แผนภูมิต่างๆ ร่วมกับการตกแต่งอย่างมีสีสัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ผ่านวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาให้สั้น กระชับ เพื่อให้เกิดการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา
จากการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์หลายแห่ง พบว่า 57% ของนักการตลาด B2B (Business to Business) ในปัจจุบัน กำลังรวมอินโฟกราฟิกให้เข้ากับเนื้อหาทางการตลาดมากขึ้น อินโฟกราฟิกไม่เพียงเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเท่านั้น แต่ยังสามารถถูกแชร์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างมากขึ้น ต้องยอมรับว่าโดยทั่วไป ไม่ว่าใครก็ชอบเสพข้อมูลที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่เยอะจนเกินไปดังนั้นลองมาดู 8 รูปแบบอินโฟกราฟิกในบทความนี้กัน ที่ทำตามแล้วผลลัพธ์การตลาดดีขึ้นแน่นอน
8 ประเภทอินโฟกราฟิกที่นักการตลาดควรนำไปใช้
นักการตลาดที่ดีต้องไม่ลืมทำความเข้าใจว่าควรใช้อินโฟกราฟิกประเภทไหนอย่างไรและเมื่อไหร่ เพื่อช่วยให้คอนเทนต์สามารถมีส่วนร่วมกับผู้อ่านได้ดีขึ้น โดยมีดังนี้
1. Timeline
อินโฟกราฟิกแบบไทม์ไลน์ เหมาะสำหรับการแสดงขั้นตอนต่างๆ หรือเล่าประวัติความเป็นมาเป็นไปของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีการสร้างโครงเรื่องด้วยหัวข้อต่างๆ โดยใช้ “เส้น” แทนระยะเวลา เช่น ประวัติบุคคลคน ประวัติองค์กร ประวัติสถานที่ แน่นอนว่าหากเลือกสร้างอินโฟกราฟิกไทม์ไลน์ อย่าลืมที่จะสร้างความแตกต่างและดึงดูดความสนใจด้วยการเลือกใช้ขนาดฟอนต์ต่างๆ พร้อมกับการแยกความแตกต่างระหว่างวันที่และข้อความย่อยด้วยคู่สีต่างๆ ที่น่าสนใจ
2. Flowchart
คล้ายกับอินโฟกราฟิกแบบไทม์ไลน์ โดยจะเป็นการนำเสนอแบบเป็นลำดับขั้น แบ่งออกเป็นหลายๆ ส่วนของหัวข้อนั้น จะเป็นการแสดงภาพและสรุปแนวคิดหลัก สำหรับอินโฟกราฟิกแบบ Flowchart จะเหมาะกับการเสนอเป็นควิซให้ผู้อ่านได้ทราบคำตอบที่ต้องการโดยการอ่านไล่ลงไปตามส่วนต่างๆ
สำหรับข้อควรระวังคือความยุ่งเหยิงของเส้นในการเชื่อมระหว่างส่วนต่างๆ อย่าลืมที่จะใช้สีเพื่อช่วยลดความสับสนให้กับผู้อ่าน
3. Informational
สำหรับอินโฟกราฟิกประเภท Informational สามารถใช้กับเนื้อหาประเภทใดก็ได้ โดยจะเป็นการสื่อสารแบบภาพรวมหรือสรุปเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้ในภาพๆ เดียว เช่นหากเลือกหัวข้อเกี่ยวกับหัวข้อ SEO Trends 2022 ก็ทำเป็นภาพเล่าออกมาว่า จะมีเทรนด์อะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับ SEO ที่น่าสนใจในปีนี้บ้าง โดยจะต้องสรุปเรื่องออกมาให้สามารถเข้าใจได้ง่ายและผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก
4. Comparison
การใช้อินโฟกราฟิกแบบ Comparison เหมาะสำหรับการใช้เปรียบเทียบสินค้าหรือบริการสองอย่างขึ้นไปที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปรียบเทียบสินค้าของแบรนด์คุณกับที่อื่น ด้วยการอธิบายข้อดีและข้อเสียว่าทำไมสินค้านั้นถึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าในสถานการณ์หนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสถานการณ์หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าอินโฟกราฟิกที่ดีต้องมีข้อมูลที่กระชับ แม้ว่าเนื้อหาจะมีเยอะก็ควรที่จะเลือกใช้ข้อมูลให้สั้นที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนกับข้อมูลที่มากจนเกินไป
5. List
เป็นหนึ่งในรูปแบบอินโฟกราฟิกยอดฮิตที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดี โดยเป็นการนำเสนอแบบเป็นข้อๆ เหมาะกับการใช้กับหัวข้อที่ไม่ยาวมากนัก และไม่ควรเป็นเรื่องที่เครียดหรือมีสาระมากจนเกินไป โปรดจำไว้ว่าการใช้อินโฟกราฟิกประเภทนี้จะต้องมีเนื้อหาที่สั้น กระชับและตรงไปตรงมาโดยสามารถสร้างสรุปหรือประเด็นสำคัญได้
ข้อแนะนำคือให้ลองวิเคราะห์ว่ามีประเด็นไหนที่สามารถรวมเป็นประเด็นเดียวกันได้ เพราะจะช่วยลดความซับซ้อนของข้อมูลต่อผู้อ่านได้มากขึ้น
6. Maps
สำหรับอินโฟกราฟิกแบบแผนที่เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของธุรกิจในพื้นที่ต่างๆ โดยเป็นการสรุปข้อมูลให้ผู้อ่านเห็นภาพได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการแสดงภาพจากภูมิภาคต่างๆ
7. Interactive
หากคุณต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดหรือไอเดียที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป การใช้อินโฟกราฟิกแบบ Interactive นี้ จะสามารถช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้นได้ ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่มีรายละเอียดที่แยกกระจายออกจากกัน โดยในการสร้างจะต้องผ่านการออกแบบที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
8. Statistical
หนึ่งในรูปแบบอินโฟกราฟิกที่นิยมใช้งานมากที่สุด โดยเป็นการออกแบบจากข้อมูลต่างๆ นำมาสร้างเป็นแผนภาพนิ่งบอกกล่าวเกี่ยวกับสถิติ โดยเน้นให้มีความสวยงามเข้าใจง่าย ไม่ทำให้หลายคนเบือนหน้าหนีด้วยตัวเลขจำนวนมากและหันกลับมามีความสนใจในเรื่องที่ต้องการสื่อสารมากยิ่งขึ้น
อินโฟกราฟิกเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสรุปเนื้อหาเพื่อสื่อสารทางการตลาด อย่างที่เห็นกันว่าปัจจุบันอินโฟกราฟิกเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในโลกอินเทอร์เน็ต เพราะสามารถถ่ายทอดข้อมูลที่เข้าใจได้ยากให้สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ผ่านการออกแบบที่มีศิลปะ และไม่มีขอบเขตและขีดจำกัดในการเล่าเรื่องแต่อย่างใด เพียงแค่ต้องมีการสรุปข้อมูลให้สั้น กระชับ และตรงประเด็น รับรองว่าถ้าเลือกใช้รูปแบบอินโฟกราฟิกให้เหมาะสมกับเนื้อหาคอนเทนต์ เท่านี้ก็จะช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้นอย่างคาดไม่ถึงแน่นอน
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com